วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning media 14

          👄วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2562 


Image result for ดุ๊กดิ๊กน่ารักๆ"

    ดิฉันขออนุญาตลากิจ1วันนะคะ เนื่องจากติดธุระค่ะ






Learning media 13

     
                                        👅วันจันทร์ที่ 18พฤศจิกายน พ.ศ 2562👅

                                            ❤💙💚💛💜❤💙💚💛💜❤💙💚💛

          👉 ความรู้ที่ได้รับ👉 วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละออกมาลองสอนเสริมประสบการณ์ที่ตัวเองเตรียมมา และอาจารย์ก็ได้แนะนำว่าควรปรับแก้ตรงไหนบ้าง และควรเสริมอะไรตรงไหนบ้างเพื่อให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด 






    👉ดิฉันนางสาวสุพรทิพย์ ดำขำ ได้เลือกสอน หน่วยรูปร่างรูปทรง และคำคล้องจองมาให้เด็กๆฟัง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าควรปรับตัวหนังสือให้สวยกว่านี้ และควรที่จะมีรูปทรงมาให้เด็กๆได้เห็นจริงๆเพื่อที่เด็กจะได้เห็นภาพของจริง 




❤👄การประเมิน👄❤

ประเมินตนเอง 👉ได้เตรียมตัวการสอนมาอย่างดี ตั้งใจฟังคำติชมของอาจารย์ และนำมาปรับปรุงในอนาคต
ประเมินเพื่อน 👉 ทุกคนตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ติชม และสิ่งที่ควรแก้ไข
ประเมินอาจารย์👉อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับนักศึกษาอย่างดี 







Learning media 12


                                          👅วันจันทร์ที่ 18พฤศจิกายน พ.ศ 2562👅 



                                           💓💙💚💛💜💓💙💚💛💜💓💙💚💛💜

       👉ความรู้ที่ได้รับ👉 
     Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 คือ

           1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
          2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

❤กรวยแห่งการเรียนรู้นี้ได้แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ
👀1. กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning👀
• กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%
• การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%
• หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%
• กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 50%
👀2.กระบวนการเรียนรู้ Active Learning👀
• การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
• การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

💚ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 

💙ประเมินอาจารย์   :  เข้าสอนตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษา                                         แลกเปลี่ยนประสบการณ์
💖ประเมินเพื่อนๆ    :  เพื่อนทุกๆคนเข้าเรียนตรงเวลา
                                               














Learning media 11

👅วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ 2562👅

💛💓💜💚💙💛💜💓💚



  ความรู้ที่ได้รับ 👉 ฝึกทักษะ Executive Functions (EF) ทักษะ EF หรือ Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน และทักษะสูง (Advance) 6 ด้าน ได้แก่


👀ทักษะพื้นฐาน (Basic) ประกอบไปด้วย


1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ


2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูดได้ 

3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นทางความคิด ร่วมแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ 

👀ทักษะสูง (Advance) ประกอบไปด้วย

4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป

5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายเกินไป รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี

6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น รู้จักไตร่ตรองว่าตัวเองทำอะไร รู้ว่าตัวเองทำอะไร และรู้ว่าใกล้จะเสร็จหรือเรียบร้อยแล้ว

7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ลงมือทำทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ดำเนินการตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ ดำเนินการ และประเมินผล

9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย 

👹รู้จัก Executive Functions (EF)

    ทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 - 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด

มุมที่ควรจัดในห้องเรียนพื้นฐาน มี 5 มุม ดังนี้




❤มุมบล็อก

❤มุมภาษ

❤มุมนิทา
❤มุมของเล่น
❤มุมศิลปะ


💚ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 


💙ประเมินอาจารย์   :  เข้าสอนตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาแลก                                         เปลี่ยนประสบการณ์

💖ประเมินเพื่อนๆ    :  เพื่อนทุกๆคนเข้าเรียนตรงเวลา















Learning media 10

                 👀  Monday 28th October 2019 
   




          💋ความรู้ที่ได้รับ
👉  วันนี้อาจารย์จ๋าได้เรียนเชิญวิทยากร ผศ.ดร.กรรนิการ์ สุขสม มาให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการทำสารนิทัศน์  


  👀สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย(Documentation for Young Children) หมายถึง 

    การจัดทำข้อมูลที่ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของการเจรญิเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการ ทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกไว้ เป็นระยะ จะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูด้วย 


   👻สารนิทัศน์มีปีระโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
   การจัดทำสารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จะช่วยให้การสอนและการประเมินมีคุณภาพ ครูต้องเรียนรู้การจัด การชั้นเรียน การจัดเก็บข้อมูลขณะเด็กทำกิจกรรม การสะท้อนกลับข้อมูล และการนำข้อมูลผลงานมา นำเสนอใหผู้เกี่ยวข้องกับเด็กเห็นกระบวนการเรียนรู้ละพัฒนาการของเด็ก ตามหลักการพัฒนาเด็กให้ เหมาะสมกับวัย พัฒนาการ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตลอดจนบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการ จัดทำสารนิทัศน์นี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักสูตรการจัด การเรียนการสอนและการประเมินมคุณค่าและ ประโยชน์

การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การสอนแบบโครงการ (Project Approach) สามารถใหสารนิทัศนเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและการสะท้อน ตนเองของครู รูปแบบการบรรยายเรื่องราวจึงมีหลายรูปแบบ อาจได้จากการบันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับ ครู เด็กกับเด็ก การบันทึกของครู การบรรยายของพ่อแม่ผู้ปกครองในรูปแบบหนังสือหรือจดหมาย แม้กระทั่ง การจัดแสดงบรรยายสรุปให้เห็นภาพการเรียนรู้ทั้งหมด การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก เช่น ใช้แบบสังเกตพัฒนาการ การบันทึกสั้น เป็นต้น  การสะทอ้นตนเองของเด็ก เป็นคำพูดหรือข้อความที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกจากการสนทนา การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของเด็กขณะทำกิจกรรม ซึ่งอาจบันทึกด้วยแถบบันทึกเสียงหรือแถบ บันทกึภาพ  ผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่แสดงให้ เห็นถึงการเรียนรู้ ความสามารถ ทักษะจิตนิสัยของเด็ก ครูที่ ชำนาญจะนำผลงานของเด็กมาใช้ดูพัฒนาการและกระบวนการทำงานของเด็ก
ระเภทของสารนิทัศน์
ประเภทของสารนิทัศน์
❤บทสรุปโครงการ
❤การสังเกตพัฒนาเด็กบันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
❤Portfolio ภาพถ่ายและสะท้อนพัฒนาการเด็ก
❤ผลงานเด็กรายบุคคล
❤ผลงานเด็กแบบกลุ่ม
❤การสะท้อนตนเอง




👻Assessment (การประเมิน)👻




ประเมินตนเอง        :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 
ประเมินอาจารย์      :  เข้าสอนตรงต่อเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาแลก                                         เปลี่ยนประสบการณ์

ประเมินเพื่อนๆ       :  เพื่อนทุกๆคนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์                                สอน แต่งกายถูกระเบียบ




Learning media 9

                              Monday 21th October 2019💘





 💣การเรียนรู้  คือ การให้เด็กลงมือกระทำ
 😈การหวังผล คือ การตั้งจุดประสงค์ 
  🙎การเล่น     คือ     ประสบการณ์สำคัญ



          💢 การศึกษาแบบองค์รวม (holistic education) หมายถึง การพัฒนามนุษย์และการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงมิติอันหลากหลายของบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การรู้คิด สุนทรียภาพ และมิติอื่น ๆ แล้วแต่จะกำหนดความหมาย การจัดการศึกษาแบบองค์รวมคิดถึงภาวะทั้งหมดในชีวิตของบุคคล แม้ชีวิตจะมีองค์ประกอบย่อยมากมาย หากแต่ละองค์ประกอบมีบริบทภายในตนและเชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นอย่างเป็นพลวัต การจัดการศึกษาจึงต้องมีลักษณะบูรณาการสอดคล้องและเกื้อหนุนต่อการพัฒนาชีวิต แนวคิดการศึกษาแบบองค์รวมมีพื้นฐานมาจากจิตวิทยากลุ่มเกสตอลต์ (Gestalt Psychology) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นความเป็น “ส่วนรวมทั้งหมด (whole)” การศึกษาพฤติกรรมของบุคคลต้องพิจารณาเป็นองค์รวม จะแยกทีละส่วน (part) ไม่ได้ เพราะคุณค่าขององค์รวมมีมากกว่าการนำส่วนย่อย ๆ มาบวกกัน

          การศึกษาแบบองค์รวมเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลค้นพบตนเอง ซึ่งเกิดจากแรงปลุกเร้าภายใน เข้าใจความหมายและเป้าหมายของชีวิต มุ่งสร้างความตระหนัก ความเข้าใจตนเอง เน้นความสำคัญในการพัฒนากาย จิตใจ อารมณ์ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดการศึกษาแบบองค์รวมได้เชื่อมโยงไปสู่หลักการสอนหลายรูปแบบ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมองซึ่งเป็นองค์รวมเชื่อมโยงไปสู่การสอนภาษาแบบ whole language approach การจัดหลักสูตร กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education) เน้นการเรียนด้วยกาย คือ การลงมือทำ การเรียนด้วยใจ ความรู้สึก ความประทับใจ และการฝึกคิด เพื่อพัฒนา “เด็กทั้งคน”


  💙 ช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มโดยใช้สิ่งของที่จะมาออกแบบสร้างที่รองรับน้ำหนักของหนังสือและพาน
  💓วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างฐาน
         - เทปกาว   
     
การประเมิน   
💪ประเมินอาจารย์ อาจารย์คอยแนะนำสิ่งที่ควรปรับปรุง


💫ประเมินเพื่อนๆ  ทุกๆคน ตั้งใจทำกิจกรรม
💥ประเมินตนเอง  ตั้งใจในการร่วมกิจกกรม
 


                                  💓💙💚💛💜💛💚💙💦💟💝❤👀👄❤👀👄